วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

วิถีชีวิตชาวบ้าน ตอน...Happy life of the people 👏👏👏

Happy life of the people 😄
     วิถีชีวิตชาวบ้าน เป็นการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ไร้ความมั่งคั่งิไร้มารยา สืบทอดกันมานาน ที่สำคัญมีแต่น้ำใสใจจริง ซึ่งคนในเมืองส่วนใหญ่จะเรียกขานหมู่บ้านกลุ่มนี้ว่า "บ้านนอก" แต่ปัจจุบันบ้านนอกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีแนวโน้มตามสังคมเมืองมากขึ้น เช่น พฤติกรรมการกิน การซื้อ การบริโภค การเดินทางด้วยรถรามากขึ้น การปลูกบ้าน สร้างบ้านแบบเมือง การเน้นตัวเงินเป็นหลัก การทำงานหาเงิน การไร้เวลา ความเครียด ความกังวลเรื่องหนี้ ลูกและอาหาร เป็นต้น แต่ถึงอย่างไร สิ่งที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในชุมชน ก็คือ การพึ่งพาอาศัยกัน การเดินทางไปมาหาสู่กัน ความอิสระในรัศมีพื้นที่กว้างขวาง การอิงธรรมชาติ การไร้กฎหมาย กฎระเบียบที่เคร่งครัดมากเกินไป การอยู่กินแบบชาวบ้าน การมีพื้นที่เพาะปลูก พืช ผัก ผลไม้ เลั้ยงสัตว์ ฯลฯ
     สำหรับคนที่เกิดในเมือง หลายคนคงไม่เข้าใจว่าการใช้ชีวิตแบบ "เด็กบ้านนอก บ้านๆ" มีรสชาติเป็นเช่นไร สุดยอดมากแค่ไหนกับความเป็นอยู่แบบนี้ ถึงไม่ได้เป็นคนถิ่นนี้ แต่ถ้าคุณได้มาสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่คุณจะรู้สึกประทับใจอย่างมากเลย ความเป็นอยู่ที่เต็มไปด้วยความสุข ชีวิตที่เต็มไปด้วยธรรมชาติอันกว้างขวาง หลายคนอาจจะเห็นว่าการใช้ชีวิตแบบนี้มันนอกมาก...
     ชาวบ้านใน ต.ชุมแสงหลายคนต้องไปทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ต้องห่างไกลจากบ้านเกิดที่แสนสุขสบายของตนไปอยู่ต่างถิ่นต่างแดน จากเด็กนอกเมืองไปทำงานในเมืองกรุง ทุกคนก็เริ่มปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเข้าสู่การเป็นคนเมือง ทั้งการเริ่มรู้จักการดูแลตัวเอง เพราะเราไม่อาจรู้ว่า สถานการณ์วันข้างหน้าจะเป็นเช่นไร การแบ่งเวลา ทำงานต้องตื่นแต่เช้าเลิกดึก เวลาสนใจกับคนทางบ้านแทบไม่ค่อยจะมี เขาใช้เวลาตรงนั้นสนใจกับงานเป็นส่วนใหญ่ จุดประสงค์ที่เขาทำเช่นนี้ก็เพราะว่า "ครอบครัว" ครอบครัวคือสิ่งสำคัญที่เขาจะต้องยกมาเป็นที่หนึ่ง เมื่อครอบครัวของเขาสบายเมื่อไหร่ เขาก็จะได้สบายไปพร้อมด้วย เขาต้องมาคลุกคลีอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อึดอัดในเมืองกรุง ไม่เคยได้สัมผัสกับบรรยากาศที่เงียบสงบของชนบทเหมือนครั้งที่เคยสัมผัสตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก พอเขาได้กลับบ้านเกิดในช่วงเทศกาลแต่ละครั้ง เขาไม่อยากจะกลับมาทำงานคืน เพราะความอบอุ่นของคนในครอบครัว ความสดชื่นของธรรมชาติที่บ้าน ทำให้เขามีความสุข แต่ด้วยความจะเป็นเพราะคำว่า "หน้าที่" เขาจึงต้องกลับไปทำหน้าที่นี้ต่อไป
     อย่างไรก็ตาม ชีวิตชนบทหรือบ้านนอกก็ยังคงมีเสน่ห์แบบลูกทุ่งอยู่ ผู้เขียนเองได้เกิดมาในชีวิตชนบท ได้เห็นความเป็นอยู่ของครอบครัว และชาวบ้านในชุมชน มีการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ปลูกผักกินเอง เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย อยู่กับชีวิตแบบนี้จนแก่เฒ่า การใช้ชีวิตแบบนี้ของชาวบ้านก็ยังคงอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ผู้เขียนเกิดความคิดที่อยากจะสานความรู้สึกเหล่านี้เพื่อเป็นความทรงจำที่น่าประทับใจและมีความสุขในช่วงชีวิต ผ่าน blogger นี้ 😍
     ตำบลเล็กๆที่เปี่ยมล้นไปด้วยความอบอุ่นของชาวบ้าน คือการใช้ชีวิตประจำวันที่แสนจะธรรมดาแต่เลอค่ากว่าที่คิด ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ชุมชนยึดหลักมาใช้จนถึงปัจจุบัน ตำบลชุมแสง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตำบลเล็กๆแต่จิตใจของชาวบ้านไม่เคยเล็กเลย มีหมู่บ้านทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านชุมแสง บ้านจาน บ้านกาบอัก บ้านหัวช้าง บ้านไผ่ บ้านก้านเหลือง บ้านตะคร้อ บ้านสวายสอ บ้านสวรรค์น้อย บ้านไม้แดง บ้านหนองหัววัว บ้านกระโดน และบ้านไผ่ลวก รอบตำบลก็จะมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และท้องทุ่งนาที่เขียวขจี รายล้อมรอบไปทั่วทุกหมู่บ้าน มีภาษาพื้นบ้านคือภาษาเขมร ดำรงชัวิตอยู่อย่างเรียบง่าย มีความสามัคคีปรองดองกันระหว่างชุมชน ชอบการทำเกษตร ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ หาปลา ปลูกหม่อนเลั้ยงไหมและทอผ้า ชีวิตเหล่านี้ก็ได้สืบทอดกันมาแต่โบราณ ชาวตำบลชุมแสง เป็นสังคมที่เอื้ออาทร ช่วยเหลือเกื้อกูลแบ่งปันกันระหว่างญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง ชุมชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่การใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นยังไง มีอะไรน่าสนใจบ้างมาดูกันเลย 👇
     เริ่มที่...ที่อยู่อาศัย สภาพบ้านเรือนของชุมชน บ้านส่วนใหญ่ก็จะสร้างจากไม้ ใต้ถุนสูง พร้อมกับเลั้ยงวัวเลี้ยงควายไว้ใต้ถุน บางหลังคาเรือนก็มีการพัฒนาขึ้น สร้างบ้านแบบสองชั้น ชั้นเดียว
บ้านไม้ ใต้ถุนสูงโปร่ง

บ้านไม้สองชั้น
     อาชีพของชาวบ้านในตำบล ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ การทำนา แต่ด้วยความที่มีรายจ่ายสูง การทำนาเพียงอย่างเดียวก็ไม่พอใช้ในครอบครัว บางคนจึงต้องออกไปทำงานต่างถิ่น ส่วนคนที่อยู่ในถิ่นก็ใช้เวลาที่เหลือจากการทำนา มาทำการเกษตรด้วยการปลูกผักขาย มีทั้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง โหระพา ใบแมงลัก กะเพรา ฯลฯ ปลูกมันสำปะลัง ปลูกข้าวโพด ปลูกอ้อย เลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ หมู เป็นต้น

เริ่มฤดูกาลทำนา


ข้าวกำลังสวยเลย




ข้าวกำลังได้เวลาจะเก็บเกี่ยวแล้ว


ท้องทุ่งนาที่เต็มไปด้วยข้าวแก่...ในยามเช้าหมอกปกคลุมเต็มเลย



     "นาข้าว" วิถีชีวิตที่ชาวบ้านสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชาวนาคงสุขใจ เมื่อเมล็ดข้าวที่ได้ ไม่ถูกพ่อค้าผู้มีอำนาจกดราคาให้ต่ำต้อยด้อยค่า...
****เลี้ยงสัตว์

วัว ควาย คือสัตว์เลี้ยง ที่ชาวบ้านตำบลชุมแสง เลี้ยงและใช้งานในช่วงฤดูกาลทำนา แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีขึ้น มีรถไถเข้ามา ชาวบ้านจึงไม่ค่อยใช้แรงงานควาย แต่จะเลี้ยงดูและขาย เพื่อจะได้นำเงินส่วนนี้ไปสร้างทุนและเลี้ยงดูครอบครัวต่อไป





       

     ไก่ เป็ด ห่าน สัตว์ปีก ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านตำบลชุมแสง ชาวบ้านทุกครัวเรือนมักจะเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ไว้ที่บ้าน เพราะทำให้มีรายได้ให้กับครอบครัว อาจจะขายเป็นตัว ขายไข่ ทำกับข้าวขาย ก็ได้ 
****ปลูกปัก ผลไม้และทอผ้า
 











     นอกจากการทำนาแล้ว การเลี้ยงสัตว์การปลูกผัก ผลไม้ การทอผ้า ก็เป็นอาชีพเสริม ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านพอสมควร ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องว่างงาน ชาวบ้านก็มีอาชีพที่เพิ่มขึ้น มีรายได้เข้าครอบครัวพอใช้ แล้วยังมีการทำขาวหมาก เหล้าโทขายด้วย เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของตน ทำให้ชุมชนมีอาชรพเหล่านี้อยู่ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก (ขออภัยที่รูปภาพการทำข้าวหมากเหล้าโทของบ้านไผ่ลวกไม่มี)
     อาหารการกินของชาวบ้าน ก็จะรับประทานพวกอาหารทั่วๆไปที่ชาวอีสานทานกัน โดยจะเน้นรสเผ็ดๆจัดๆ ออกกลิ่นปลาร้า เค็มๆเยอะๆ แล้วก็พวกอาหารดิบ ลาบก้อย พวกนี้ 😜








































อาหารยอดฮิตของบ้านเรา "หมี่ยำ"

เห็นมั้ย!!! กับข้าวบ้านเราน่ากินมั้ย หิวเลยยย 😝😝😝

****ชีวิตประจำวันของชาวบ้านและเด็กๆ งานอดิเรกต่างๆ































สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่บ้านหัวช้าง ต.ชุมแสง
 
     ตำบลเราเป็นตำบลที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีธรรมชาติ ลำคลองหนองน้ำ นับว่าเป็นสถานที่ที่ใหม่ที่ชุมชนเราได้จัดทำขึ้นนั่นก็คือ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่เป็นฝายชะลอน้ำ มีสะพานไม้ข้ามไปเขตจังหวัดสุรินทร์ได้
     วิถีชีวิตของคนตำบลชุมแสง เป็นการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย พอเพียง และประหยัด ขยันทำมาหากิน เป็นชุมชนที่มั่นคงในหน้าที่ของตน เพราะพวกเขาจะยึดหลักในอาชีพที่เขาทำ และปฏิบัติสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เขาต้องสั่งสมไว้เพื่อให้ลูกๆหลานๆเขาได้ปฏิบัติสืบต่อ นั่นก็คืออาชีพการทำนา เพราะเขาเชื่อว่าหากเขาทำนา มีนา มีที่ดิน และขยัน เขาก็จะไม่อดตาย สิ่งนี้ทำให้ผู้เขียนทราบว่าชาวบ้าน ที่เขายึดหลักในอาชีพเกษตรกรรม เขาต้องขยัน ขยันเล็กขยันน้อย แต่เขาก็ไม่เคยหยุด เป็นภูมิปัญญาการทำนาอย่างหนึ่งที่จะต้องมีกระบวนการ และการสืบทอดเพื่อให้ลูกหลานของตนได้ปฏิบัติตาม นอกจากการทำนาแล้ว ชาวบ้านก็จะไม่หยุดนิ่งหรือนอนดูดาย เขาจะหาสิ่งเล็กๆน้อยๆทำ อย่างเช่น การปลูกผักขาย การทอผ้า แม้กระทั่งการเข้าป่า เพื่อหาเห็ด หาปลา และนี่ก็เป็นสิ่งที่ผู้เขียนอยากเล่าผ่านเว็บ Blog ได้อยากให้ผู้ที่พลัดถิ่นที่ไปทำงานข้างนอก ได้คิดถึงบ้านเกิดเรือนนอนของตน คิดถึงบรรยากาศธรรมชาติของที่บ้าน คิดถึงคนที่บ้าน ถึงแม้ด้วยคำว่าหน้าที่ต้องทำ อาจจะหักห้ามการกลับไปสู่ถิ่นของตนก็ตาม แต่อยากให้รู้ว่า เมื่อเราท้อแท้ อ่อนแอ หรือสิ้นหวัง เรายังมีที่บ้านเกิดของเรา คอยปัดเป่าสิ่งที่เป็นทุกข์ออกไปได้ ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเมื่อนึกถึงธรรมชาติของที่บ้านและเราก็จะสามรถดึงความสุขจากสิ่งนั้นมาทำให้เรามีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ต้องจากบ้านเกิด เพื่อไปทำงานต่างถิ่น สู้ๆกันนะคะ...👏✌✌
ขออภัยหากบทความนี้เรียงร้อยเนื้อหาไม่สมบูรณ์...😊
ผู้เรียบเรียง...นางสาววิไลพร เสียงวังเวง (ภาษาไทย -คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี)
ขอบคุณรูปภาพจาก
1.คุณครูทนง ดุมเกษม
2.นายวัชรพงษ์ สายบุตร 
3.นางสาวกุสุมา นิโรรัมย์
4.นางสาวทิพวัลย์ เสียงวังเวง
5.นางสาวบุษยารัตน์ จงสู้
6.ประชามติธุรกิจ
7.อบต.ชุมแสง อ.กระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
8.วิถีชีวิตคนชนบท - มุมชีวิตคนบ้านนอก
9.วิถีชีวิตคนบ้านนอก
และขอขอบคุณกำลังใจจากการใช้ชีวิตของชาวบ้าน ที่เป็นแรงบรรดาลใจให้ผู้เขียน เขียนเล่าเรื่องราวเหล่านี้ผ่านลงเว็บ ขอบคุณค่ะ 😊

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น